เมนู

16. อินทริยปัจจัย


[29] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อินทริยปัจจัย.

ในเหตุมูลกนัย มี 3 วาระ (วาระที่ 1 - 3)
2. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของอินทริยปัจจัย.

คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่
กายวิญญาณ.
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ
อินทริยปัจจัย.
อินทริยปัจจัย พึงให้พิสดารอย่างนี้ และมี 9 วาระ.

17. ฌานปัจจัย


[30] นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
ฌานปัจจัย มี 3 วาระ.


18. มัคคปัจจัย


[31] เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
มัคคปัจจัย.

19. สัมปยุตตปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.

ใน 2 ปัจจัยนี้ มี 9 วาระ.

20. วิปปยุตตปัจจัย


[32] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
วิปปยุตตปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย, เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของ
วิปปยุตตปัจจัย.
2. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย.

มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่